ชีววิทยา นิเวศวิทยาและการป้องกันกำจัดยุง
ปัจจุบัน มีสัตว์หลายชนิดที่เป็นปัญหาของคนและสัตว์ สัตว์ที่พบบ่อยๆ จำนวนมากได้แก่ แมลงและหนู แมลงหลายชนิดเป็นพาหะนำโรคมาสู่คนและสัตว์ แต่แมลงที่รู้จักกันดีและเป็นสัตว์ปีก ที่พบได้ทุกหนทุกแห่งคือ ยุง
วิทยาและนิเวศวิทยาของยุง
วงจรชีวิตของยุง
ยุงมีการเจริญเติบโตแบบสมบูรณ์
ไข่ ---> ตัวอ่อน ---> ดักแด้ ---> ตัวเต็มวัย
ในแต่ละระยะจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 3 ชนิด คือ ฮอร์โมนจากสมอง ecdisone และ juvinile hormone
ระยะไข่
ไข่ยุงแต่ละชนิดมีขนาดและลักษณะไม่เหมือนกันลักษณะการวางไข่อาจบอกชนิดของ กลุ่มยุงได้ยุงชอบวางไข่บนผิวน้ำหรือบริเวณชื้น เช่น ภาชนะเหนือระดับน้ำ
ระยะตัวอ่อน หรือระยะลูกน้ำ
ลูกน้ำหายใจโดยการใช้ท่อหายใจและมีท่อตรงส่วนปลายท้องที่เรียกว่า “ไซฟอน”ยกเว้นยุงก้นปล่องรูเปิดหายใจที่เรียกว่า “สไปราคูลา โอเพนนิ่ง”
อาหารของลูกน้ำยุงได้แก่ สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในน้ำ เช่น แบคทีเรีย สาหร่าย ลูกน้ำจะลอกคราบ 4 ครั้งแล้วกลายเป็นตัวโม่งหรือระยะดักแด้
การเจริญในระยะลูกน้ำจะใช้เวลาประมาณ 7-10 วัน
ดักแด้หรือระยะตัวโม่ง
ตัวโม่งรูปร่างผิดไปจากลูกน้ำ ส่วนหัวเชื่อมกับส่วนอกรูปร่างลักษณะคล้ายกับตัวเครื่องหมายจุลภาคท่อหายใจ อยู่ที่ส่วนหัวและใช้เวลาในการเจริญเติบโต 1-3 วัน
ตัวเต็มวัย
ตัวยุงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนหัว ประกอบด้วย ตา หนวด ปาก
ส่วนอก ส่วนอกจะมีลวดลายต่างๆกัน ใช้ในการแยกชนิดของยุงได้ เป็นที่ตั้งของส่วนขาและปีก
ส่วนท้อง เป็นที่ตั้งของอวัยวะสืบพันธุ์
การผสมพันธุ์
เมื่อยุงตัวเมียออกมาได้ 1-2 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ตัวเมียจะทำการกระพือปีกเพื่อเป็นการเรียกตัวผู้เพื่อทำการ ผสมพันธุ์ ยุงเพศเมียบางชนิดเมื่อผสมพันธุ์แล้วจะต้องการเลือดจากสัตว์เลือดอุ่น
อายุของยุง
ตัวผู้จะอายุสั้นกว่าตัวเมีย ยุงตัวผู้อายุ 1 สัปดาห์ ยุงตัวเมียอายุ 1-5 เดือนอายุของยุงขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ชนิดของยุงที่พบในประเทศไทย
U.C.S.SERVICE (THAILAND) CO.,LTD.
55/24 หมู่ 5 ถนนเสม็ด–อ่างศิลา ตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000.
55/44 Moo 5 Samed-Angsira Rd. T.Samed A.Muang. Chonburi 20000.
โทร: 038-398-5557 (ออฟฟิศ)
สายด่วน: 081-949-7856
(รับปรึกษากำจัดปลวก และแมลง)
สายด่วน: 082-338-9555
(รับปรึกษาป้องกัน และไล่นก)